วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

โครงการพัฒนาศักยภาพครู และส่งเสริมการใช้ Social Media

1. ชื่อโครงการ  โครงการพัฒนาศักยภาพครู และส่งเสริมการใช้ Social Media ในการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ 
                1. ศูนย์คณิตศาสตร์  โรงเรียนรัตนบุรี    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33   

3. หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ ::  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33



4. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ได้ง่าย ซึ่งมีผู้ใช้งานที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้ และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุดเพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น นับเป็นยุค 2.0 ที่นักการศึกษาต้องตระหนักกับการเปลี่ยนถ่ายของ Content จาก  Static Content เข้าสู่ยุคของ Dynamic Content
แนวคิดการนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ นับเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ ศูนย์คณิตศาสตร์  โรงเรียนรัตนบุรี จึงได้สนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะปัจจุบัน Social Media ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสื่อ  ให้เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้น การนำเทคโนโลยี Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ จะเป็นการผลักดันครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันโลกยุคปัจจุบันและสามารถเข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เกิดระบบ สังคมแห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และช่วยให้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถนำเครื่องมือออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

5. วัตถุประสงค์
                1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้ Social Media เพื่อการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
                2. เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้ Social Media ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็วและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
                3. เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้บนอินเทอร์เน็ตในการจัดการเรียนรู้
                4. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการพัฒนาวิชาชีพและร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

6. เป้าหมาย
                6.1 เชิงคุณภาพ
                     1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้ Social Media เพื่อเป็นเครื่องมือนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
                     2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ (Wordpress, Youtube, Twitter, SlideShare,  Scribd, Flikr, Facebook) ได้เป็นอย่างดี
                6.2 เชิงปริมาณ
                     ครู และบุคลากรทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33  จำนวน 100 คน มีสื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

7. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ


ที่
กิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินการ
สถานที่
1
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
4 ก.พ. 2554

2
ขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
7-9  ก.พ. 2554

3
ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครครูเข้าร่วมโครงการ
10-18 ก.พ. 2554

4
ประกาศผลการคัดเลือกและร่างหนังสือเชิญครูที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการโครงการฯ
18 ก.พ. 2554

5
จัดประชุมปฏิบัติการโครงการฯ Social Media
19- 20 มี.ค. 2554

6
ติดตามผลและประเมินผลการดำเนินการ (ออนไลน์)
 21-30 มี.ค. 2554

7
สรุปผลการดำเนินงาน
31 ธ.ค. 2553



8. งบประมาณ   
                งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุน เป็นเงินจำนวน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)      





9. การติดตามและประเมินผล


ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีวัดและประเมินผล
เครื่องมือที่ใช้
1. ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการสามารถสร้างและมีสื่อออนไลน์คนละ 1 Blog/1 เนื้อหาวิชา
2. ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการมีความพึงพอใจในการจัดโครงการฯ
1. ประเมินผล
สื่อออน ไลน์
2.ประเมินผลการประชุมปฏิบัติการฯ
1. แบบประเมิน
2. แบบสอบถาม



10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถสร้างและใช้ Social Media ด้วยเครื่องมือออนไลน์ เพื่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
                2. ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้บนอินเทอร์เน็ตในการจัดการเรียนรู้
                3. ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาวิชาชีพและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้